สร้างเกม Unity - เขียนโปรแกรมเบื้องต้น ตอนที่ 4 Condition Statement
สร้างเกมส์ ด้วย unity บทความนี้ มารู้จัก Condition หรือเหงื่อนไข มีคำสั่งดังต่อไปนี้
if else
switch
มาทำความเข้าใจกับคำสั่ง if else กันก่อนเลยอันดับแรก
รูปแบบคำสั่งประกอบไปด้วย if(ในวงเล็บคือค่าข้อมูลที่เป็นชนิด bool หรือ ค่า true กับ false) { ... }
***ให้ทำความเข้าใจกับการเปรียบเทียบค่ากับบทความก่อนหน้านี่กันก่อนได้ >> Compare Operator <<
คำสั่ง if จะทำงานก็ต่อเมื่อ เหงื่อนไขภายในวงเล็บเป็นจริง ตัวอย่าง
ผลลัพธ์
สังเกตุว่า โปรแกรมจะทำงานเฉพาะ if แรก ส่วน if2 ไม่ทำงาน เพราะไม่เป็นจริง
แล้วถ้าเราอยากให้มันทำอะไรสักอย่างถ้า if นั่นๆไม่เป็นจริงละ
เราสามารถทำได้โดยใส่คำสั่ง else {... โค้ดอะไรสักอย่างทีี่เราต้องการไป ในตัวอย่างใส่ debug.... }
ผลลัพธ์จะเห็นว่า คำสั่ง if ชุดที่ 2 ไม่เป็นจริงเลย จึงเข้า else
ต่อมา จากรูปด้านบนทำไมผมถึงกล่าวว่า "if ชุดที่ 2 ไม่เป็นจริงเลย" ทั้งๆมันก็ไม่เป็นจริงอยู่แล้วเพราะมันมีแค่อันเดียว ทำไมต้องใช้คำว่าเลยด้วย
เพราะว่าในคำสั่ง if หนึ่งชุด เราสามารถ เช็คได้หลายเหงื่อนไข จนกว่าจะเช็คได้ว่าเป็นจริงหรือไม่ โดยใช้คำสั่ง else if(xxx){...}
โดยต้องใส่ ต่อจาก if แรกเท่านั่น และสามารถ เช็ค else if(){} กี่ครั้งก็ได้ ส่วน else ให้ใส่ปิดท้ายเท่านั้น
** หมายเหตุ else จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้
ผลลัพธ์
บางท่านอาจสงสัยว่าเราจะ if แล้วเช็ค true false กันอยู่ทำไมในเมื่อก็เห็นๆกันอยู่ว่าอันไหน true อันไหน false
อย่างที่บอกไว้ต้นบทความครับ ให้ทำความเข้าใจกับการเปรียบเทียบค่ากับบทความก่อนหน้านี่กันก่อนได้ >> Compare Operator <<
เพราะว่าค่าในวงเล็บก็คือค่าที่เป็นชนิด bool ที่เก็บได้เฉพาะ true false ในกรณีนี้เราสามารถที่จะใส่ชื่อตัวแปรในวงเล็บ แล้วให้ if เช็คเหงื่อนไขไปว่าเป็น true หรือ false ก็ได้ หรือถ้าในอย่าง ผมก็ใส่เป็นการเปรียบเทียบ หรือ compare operator ซึ่งผลลัพธ์มันก็คือ true หรือ false แบบนี้ก็ได้เหมือนกัน แล้วแต่จะดัดแปรงไปตามสถานะการครับ
ผลลัพธ์
Conditoion ตัวที่สอง ที่เราจะมาทำความเข้าใจกับมันคือ switch
switch มีรูปแบบดังนี้
swith (ค่าข้อมูล) {
case ชนิดของค่าข้อมูลที่จะเปรียบเทียบ : .....เขียนโค้ดอะไรสักอย่าง ในตัวอย่างเขียน debug อีกแล้ว
break;
case ชนิดของค่าข้อมูลที่จะเปรียบเทียบ : .....เขียนโค้ดอะไรสักอย่าง ในตัวอย่างเขียน debug อีกแล้ว
break;
case ชนิดของค่าข้อมูลที่จะเปรียบเทียบ : .....เขียนโค้ดอะไรสักอย่าง ในตัวอย่างเขียน debug อีกแล้ว
break;
}
ตัวอย่างด้านล่างจะเห็นว่าค่าข้อมูลในวงเล็บ กับค่าข้อมูลที่จะเช็คเหงื่อนไขตรง case จะต้อง เป็นประเภทเดียวกัน พวก string int หรือ bool
ผลลัพธ์จะเห็นว่าคำสั่ง switch จะเป็นการเลือกทำงานใน case ที่มีข้อมูลเท่ากับ ในวงเล็บของ switch นั่นเองครับ
คล้ายๆกันกับ if ค่าในวงของ switch เราก็สามารถใส่ตัวแปรแทนค่าต่างๆตามโค้ดของเราได้เลย ตัวอย่าง
ผลลัพธ์
Post a Comment