New Project and Hello World (Unity3D Thailand)

       
 สอน Unity3D - บทความที่ 2 ครับ มาสร้างโปรเจ็กแรกกันเลย นั้นคือโปรเจ็ก Hello Word ซึ่งเป็นโปรเจ็กแรก โปรเจ็กที่คุ้นหูคุ้นตากันดีน่ะครับ ภายในวดีโอก็จะมีตัวอย่างการสอนการใช้งานตัวโปรแกรม Unity ให้ด้วยนิดๆหน่อยๆครับ พวกวิธีการสร้างโปรเจ็กใหม่ การสร้างสคริป การนำสคริปไปใช้ยังไง แล้วดูผลลัพย์หรือผลการ Run กัน ยังไงก็ลองไปชมวิดีโอกันเลยกับ Unity3D Thailand (Thai Unity)







(ถ้า Video ไม่ขึ้นตามไปที่ลิ้งได้เลยครับ http://youtu.be/H8NUBYN5vvs)

          บทความนี้เราจะมาดูวิธี New Project และ Hello World กันน่ะครับ เริ่มกันเลยกับบทความนี้ น่ะครับ ให้เราคลิกที่แทบเมนูด้านซ้ายบนน่ะครับ แล้วให้เราเลือกไปที่ File แล้วเลือกที่ New Project... ตามรูปเลยแล้วกันนะครับ

คลิก File>New Project..


          จากนั้นรูปด้านล่างให้เราเลือกว่าจะเซฟที่ไหน แล้วตั้งชื่อ Project ได้เลยครับ ส่วนของผมตั้งชื่อ Project ว่า HelloWolrd แล้วกด Create ได้เลยครับ


          เท่านี้เราก็พร้อมสำหรับ Project ใหม่ของเราแล้ว   ทีนี้เราจะมาลองเขียนโปรแกรมในตำนานกันเลยดีกว่านะครับ นั้นก็คือโปรแกรม Hello World !!!  ให้เราเริ่มจากการสร้าง สคลิป C# ขึ้นมา โดย ให้เราคลิกที่แทบเมนูด้านซ้ายบนน่ะครับ ให้เราเลือก Asset > Create > C# Script (ตามรูปด้านล่างเลยครับ)


          จากนั้น ตัวของ C# Script จะไปอยู่ในส่วนของ Project ตามรูปด้านล่างน่ะครับ แล้วให้เราตั้งชื่อมันสะนะครับ ของผมตั้งว่า HelloWorld น่ะครับ (ตามรูปด้านล่างเลยครับ)


            เสร็จแล้วให้เรากดดับเบิ้ลคลิกที่ สคลิป HelloWorld ของเรานะครับ เพื่อจะทำการแก้ไขสคริปเลยนะครับ จะเห็นว่ามันจะเปิดตัวโปรแกรม MonoDevelop ขึ้นมา ซึ้งเราอาจจะไม่รู้จัก ก็ไม่เป็นไรครับ เดี๋ยวบทความต่อไปผมจะบอกวิธี เปิดด้วย Visual Studio หรืออื่นๆ อีกทีแล้วกัน

            มาต่อกันครับในรูปข้างล่าง จะเห็นว่าชื่อ class มันไม่ตรง เพราะตอนแรกเราตั้งว่า HelloWorld ตามรูปด้านบน แต่มันดันเป็น NewBehaviourScript สะงั้น ให้เราเปลี่ยนเป็น HelloWorld ให้ตรงกับที่เราสร้างไว้แต่แรกนั้นเอง หรือถ้าตรงแล้วก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยได้เลยครับ ซึ้งจะเห็นว่า มันจะสร้างฟังชั่นมาให้เราไว้สองฟังชั่นเลย คือ Start() และ Update() ตามรูปเลยน่ะครับ


          จากรูปด้านล่าง เมื่อเราเปลี่ยนชื่อ class ให้เป็น HelloWorld ตามที่เราตั้งไว้ในตอนแรกแล้วนั้น แล้วเราก็ลองใส่โค้ด Debug.Log("Hello Wolrd") แทรกเข้าไปในฟังชั่น Start() ซึ้งการทำงานของฟังชั่น Start() จะทำงานในตอนแรกของการรันโปรแกรมเพียงครั้งเดียวครับ ส่วนฟังชั่น Update() จะทำงานตลอดเวลาครับ ลองทำตามรูปด้านล่างเลยได้เลยครับ



          เอาล่ะครับ ทำเสร็จกันแล้ว Save ดีกว่า ^_^ เมื่อกด Save แล้ว จากนั้นเรากลับไปที่ Unity ครับ ให้เราลากสคลิป HelloWorld ของเราไปใส่ไว้ใน Main Camera ตามรูปแล้วจะเห็นว่า สคลิป HelloWorld จะไปอยู่ใน Main Camera แล้ว วิธีตรวจสอบให้เราคลิกที่ Main Camera ในส่วนของ Hierarchy ในเป็นแทบสีน้ำเงิน แล้วดูในส่วนของ แล้วดูในส่วนของแทบ Inspector จะเห็นว่าสคลิป HelloWorld ของเราได้เข้าไปอยู่ใน Main Camera เรียบร้อย (*ถ้าไม่ลากสคริปไปไว้ในกล้องหรือตัว object อื่นๆ อันใดอันนึง สคริปก็จะไม่ทำงานนะครับ นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมต้องลากสคริปไปยัดไว้ในกล้องนะครับ ) ตามรูปด้านล่างเลยครับ 


         เมื่อเราลากสคริปเข้ามาแล้ว จากนั้นให้เรากด Ctrl + S เพื่อเซฟกันเลย การเซฟคราวนี้เป็นการเซฟ scene ครับ (*scene คืออะไร ถ้าเปรียบกับหนังสือ scene ก็เหมือน หน้าในหนังสือหน้าใดหน้าหนึ่งนั้นเอง พอมาเป็นเกมส์ scene ก็คือหน้าของเกมส์ แต่ละหน้านั้นเองครับ)  เอาล่ะครับต่อกันเลย ผมจะเซฟ scene ชื่อว่า scene1 แล้วกด save ตามรูปเลยครับ


          เราจะเห็นว่า scene1 ของเราก็จะไปอยู่ใน Project ของเราเรียบร้อยตามรูปด้านล่างน่ะครับ


          จากนั้นเรามาลองทดสอบกันเลย โดยกด run ได้เลยครับ หรือจะ Ctrl + P ก็ได้ แล้วเราก็ได้แล้ว Hello World ดูในแทบ Console ตามรูปด้านล่างครับ ซึ่งเป็นผลลัพที่เราได้จากคำสั่ง Debug.log นั้นเองครับ


              บทความนี้เป็นบทความแบ่งปันความรู้เท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจมาสอนอะไร ขอให้ได้อะไรไปจากบทความนี้บ้าง ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ แล้วเจอกันใหม่ในบทความต่อไป ^______^

สามารถอ่านบทความที่เกี่ยวข้องของเราที่นี่  >> รวมลิ้งค์บทความ สร้างเกมด้วย Unity

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับ ผมไม่เคยเรียนด้านนี้มาแต่ชอบศึกษาครับ

    ตอบลบ
  2. ใช้ Netbean เขียนได้ป่าวคัฟ

    ตอบลบ
  3. ดีมากคับ เข้าใจง่าย ชอบมากคับ
    ช่าวสอน การเฟดภาพ หน่อยซิคับ อย่างโลโก้ ที่แสดงและเฟสภาพให้จาง หรือให้ ขาว หรือให้ดำ

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.